ท่องเที่ยว อินเดีย 20 – 28 ตุลาคม 2552

กระทู้: ท่องเที่ยว อินเดีย 20 – 28 ตุลาคม 2552

ป้ายกำกับ: ไม่มี
  1. รูปส่วนตัว tanwakom

    tanwakom said:

    ท่องเที่ยว อินเดีย 20 – 28 ตุลาคม 2552



    รายการแสวงบุญในดินแดนพุทธภูมิระยะ 9 วัน

    นำเสนอโดย
    หจก.สังคม ทัวร 583 ถ.ราชดำเนิน ต.ในเมือง จ.นครศรีฯ 80000
    ทะเบียนเลขที่ 0803549001412
    ดร.สังคม แชเชือน หุ้นส่วนผู้จัดการ

    -----------------------------------------






    รายการโดยย่อ
    กรุงเทพฯ – กัลกัตตา-คยา - พาราณสี –ลุมพินี(เนปาล)- กุสินารา
    ปาวา- เวสาลี- นาลันทา-ราชคฤห์-กัลกัตตา – กรุงเทพฯ

    20 – 28 ตุลาคม 2552
    1) วันอังคาร ที่ 20 ตุลาคม 2552 (ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 12) (กรุงเทพฯ –กัลกัตตา)

    06.20 น. พร้อมกันที่สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น 4 ประตู 7-8 เคาน์เตอร์ P 1-2-3 สายการบินเจ็ตแอร์เวย์ เที่ยวบินที่ 9W 065
    09.20 น. เครื่องออกจากสนามบินสุวรรณภูมิ
    10.20 น. เครื่องลงสนามบินกัลกัตตา ประเทศอินเดีย พร้อมเช็คเอาท์ ทานอาหารเที่ยง และขึ้นรถบัสเดินทางต่อไปพุทธคยา โดยพักที่วัดไทยพุทธคยา ซึ่งอยู่ใกล้กับต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้ามากที่สุด สามารถไปมาจากวัดสู่ที่ตรัสรู้ได้ตลอดเวลา
    20.00 น. ทานอาหารเย็นและพักผ่อนตามอัธยาศัย


    2) วันพุธ ที่ 21 ตุลาคม 2552 (ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 12) (พุทธคยา)
    06.00 น. ทานอาหารเช้า
    07.00 น. ไปนมัสการและชมวัดนานานชาติ รอบ ๆ วัดไทยพุทธคยา ใกล้ ๆ สถานที่ตรัสรู้ ให้เสร็จสิ้นในภาคเช้า วัดนานาชาติที่เข้าชมมี

    1) วัดภูฐาน เป็นวัดที่สวยงามมาก ศิลปะฝาผนังเป็นภาพปั้นนูน แสดงพุทธประวัติ ตั้งแต่พระมารดาทรงพระสุบินว่า มีพระยาช้างเผือกนำดอกบัวมาและเข้าสู่พระครรภ์ของพระนาง จนกระทั่งถึงพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน
    2) วัดทิเบต อีกวัดหนึ่งสวยงามไม่น้อย แต่ภาพฝาผนังเป็นภาพวาดเกี่ยวกับประวัติเช่นเดียวกัน ยิ่งพระพุทธรูป ของภูฐานและทิเบตสวยงามยิ่งนัก
    3) วัดญี่ปุ่น คณะของเราจะเข้านมัสการพระพุทธรูปศิลาที่ใหญ่ที่สุดแถบนั้น ซึ่งทำด้วยหินทรายแดง แกะสลักและนำมาต่อกันเป็นชิ้น และงดงามยิ่งนัก เช่นกัน
    4) วัดไทยพุทธคยา ซึ่งเป็นวัดแรกของไทยที่ไปสร้างไว้ในดินแดนพุทธภูมิ เริ่มมาตั้งแต่ปี 2500 มีอุโบสถเด่นสง่า จำลองรูปแบบจากวัดเบญจมฯ กรุงเทพฯ ภาพวาดภายในก็วิจิตรงดงาม ซึ่งเป็นภาพประวัติพระมหาชนก และเจดีย์สังเวชนียสถาน 4 ตำบล และเราสามารถดูภาพมายาเทวีวิหารที่ลุมพินีวัน สถานที่ประสูติของเก่า ก่อนจะซ่อมแซมได้ พระพุทธรูปก็งดงามตามแบบฉบับของศิลป์ไทย
    11.00 น. กลับวัดและทานอาหารเที่ยงที่วัด พักผ่อนตามอัธยาศัยในห้องของตน ๆ
    13.00 น. เดินทางไปชมเจตยานุสรณ์บ้านนางสุชาดา อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเนรัญชรา ณ ที่นี้ จะชี้ให้ดูภูเขาดงคสิริ ที่บำเพ็ญทุกกรกิริยาของพระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ อชปาลนิโครธ ที่ทรงเสวยวิมุตติสุข สัปดาห์ที่ 5 สระมุจจลินทร์ สัปดาห์ที่ 6 และต้นราชายตนะ สัปดาห์ที่ 7 ซึ่งสามารถที่จะชี้ให้ดูตามทิศทางที่ปรากฏในพระไตรปิฎก จากนั้นนำไปชมสถานที่ลอยถาด ที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา หลังจากเสวยข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาแล้ว ที่นี่พระองค์ทรงอธิษฐานความว่า “ถ้าพระองค์จักได้บรรลุเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ขอให้ถาดได้ลอยทวนกระแสน้ำ” และถาดได้ลอยทวนกระแสน้ำจริง ๆ
    14.00 เข้านมัสการและเยี่ยมชมพระมหาโพธิ์เจดีย์ อันเป็นเจดีย์ที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คณะเข้านมัสการและขอพรพระพุทธเมตตา ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในเจดีย์พระองค์นี้ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ยิ่งสำคัญถึงกับพระเจ้าศสางกาให้ทหารทำลาย แต่ทำลายไม่ได้และพระองค์เองกลับกระอักเลือดตาย
    คณะนำชมสิ่งสำคัญรอบ ๆ พระเจดีย์ นั่นคือ


    1) ต้นพระศรีมหาโพธิ์ แม้ต้นนี้เป็นต้นที่ 4 ก็ถือว่าสำคัญยิ่ง เพราะงอกงามอยู่ในที่ซึ่งต้นเดิมอยู่นั่นแหละ
    2) พระแท่นวัชรอาสน์ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างองค์พระเจดีย์และต้นพระศรีมหาโพธิ์ สถานที่ประทับในคืนตรัสรู้ ซึ่งพระองค์ทรงลาดหญ้ากุสะเป็นบัลลังก์ประทับนั่ง และพระองค์ได้ทรงอธิษฐาน ณ อาสนะนี้ ความว่า “หากแม้นเลือดและเนื้อจะเหือดจะแห้งอย่างไร ถ้าไม่บรรลุพระอรหันตสัมมาสัมโพธิญาณแล้วจักไม่เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะนี้” อาสนะนี้จึงได้ชื่ออว่า วัชระ (เพชร) อาสน์ อาสนะ (ที่นั่ง) ของบุรุษใจเพชร (แข็ง)
    3) อนิมิสสเจดีย์ อนุสรณ์สถานที่พระพุทธองค์เสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ 2 โดยประทับยืนมองไปยังต้นพระศรีมหาโพธิ์และไม่กระพริบพระเนตรตลอด 7 วัน ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ(นิดๆ)ของต้นพระศรีมหาโพธิ์
    4)รัตนจงกรมเจดีย์ ด้านทิศเหนือขององค์พระเจดีย์ มีรัตนจงกรมเจดีย์คือ อนุสรณ์สถานที่พระพุทธองค์ทรงใช้เสวยวิมุตติสุขอีก 7 วัน โดยเสด็จเดินจงกรมตลอด 7 วัน ในสัปดาห์ที่ 3 หลังจากตรัสรู้
    5) รัตนฆรเจดีย์ สถานที่ทรงนั่งสมาธิพิจารณาอภิธรรม ในสัปดาห์ที่ 4 อีก 7 วัน ซึ่งอยู่ทิศเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์
    6) สระมุจจลินทร์จำลอง ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของพระเจดีย์ (สระมุจจลินทร์จริง อยู่ห่างจาก พระศรีมหาโพธิ์ ประมาณ 2 กม. คณะไม่นำไป ที่ต้นราชายตนะก็ไม่นำไป ซึ่งอยู่ไกลไปทางใต้ ไกลจากสระมุจจลินทร์อีกประมาณ 1 กม. หรือห่างต้นพระศรีมหาโพธิ์ประมาณ 3 กม.)
    จากนั้น นำกล่าวคำบูชาองค์พระเจดีย์ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตลอดจนนำไหว้พระ สมาธิภาวนา อธิษฐานจิต ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ในหลวง ลิธิษฐานบุญเพื่อคนที่เรารักทุกๆท่าน ฟังปรารภธรรมพอสมควรแก่เวลา ลุกขึ้นพร้อมกันทำประทักษิณ เวียนรอบองค์พระเจดีย์และพระศรีมหาโพธิ์ 3 รอบ ได้เวลาพอสมควรกลับวัดเพื่อทานอาหารเย็น ผู้ใดประสงค์สมาทานศีล 8 ก็สามารถสมาทานได้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์
    19.00 น. ทานอาหารเย็นและลงโรงพระอุโบสถเพื่อถวายผ้าป่าช่วยเหลือกิจสงฆ์ที่นี้ อันเป็นวัดแรกของการถวายผ้าป่า 9 วัดในครั้งนี้ อนึ่งหลังจากนี้ใครต้องการจะซื้อของหรือต้องการบำเพ็ญกุศลเพิ่มเติมโดยวิธีใด เช่น สมาธิภาวนาใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ก็สามารถเดินทางไปเองได้ ประตูปิดเวลา 3 ทุ่ม ตลาดก็ปิด 3 ทุ่มเช่นกัน


    3) วันพฤหัสบดี ที่ 22 ตุลาคม 2552 (ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 12) (คยา – พาราณสี)
    05.00 น. (06.30 น. ของไทย เวลาของไทยเร็วกว่าอินเดียหนึ่งชั่วโมงครึ่ง) ปลุกตื่น
    05.30 น. อาหารเช้า
    06.30 น. เดินทางไปเมืองพาราณสี
    11.30 น. ถึงเมืองพาราณสีเข้าที่พักวัดไทยสารนาถ ทานอาหารเที่ยงที่วัด
    13.00 น. เข้าชมพิพิธภัณฑ์เมืองสารนาถ ซึ่งมีพระพุทธรูปที่สวยที่สุดในโลกประดิษฐานอยู่ เป็นพระพุทธรูปศิลาปางปฐมเทศนา นอกจากนี้จะนำคณะไปชมภายในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ภายในนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารนาถ มีสิ่งสำคัญดังต่อไปนี้

    1) ธัมเมกขสถูป เจดีย์ที่แสดงพระปฐมเทศนา คณะนำกล่าวคำบูชา ไหว้พระ สมาธิภาวนา และเวียนเทียนที่นี่ด้วย
    2) ธัมมราชิกาสถูป เจดีย์ที่ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร
    3) มูลคันธกุฎี สถานที่พระพุทธเจ้าประทับ
    4) เสาศิลาจารึกพระเจ้าอโศก
    5) ปัญจายตนเจดีย์ สถานที่พระยสะพบพระพุทธเจ้า และเมื่อได้ฟังธรรมะ คือ อนุปุพพีกถาและอริยสัจจ์ 4 แล้วได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ณ ตรงนี้
    6) เจดีย์ราย ซึ่งเป็นที่เก็บอัฐิธาตุของพระอรหันต์อีกมากมาย
    7) ซากอาคารกุฏิพระสงฆ์
    สวนกวาง ท่านสามารถซื้ออาหารให้กวางได้ด้วย มีนกยูงให้ดูชมด้วย ออกจากป่าอิสิฯก็ต่อไปนมัสการ นิวมูลคันธกุฎี ซึ่งชาวศรีลังกาสร้างขึ้นมาใหม่ จำลองรูปลักษณ์ภายนอกเหมือนพระมหาเจดีย์พุทธคยา ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปจำลองปางปฐมเทศนา ซึ่งสวยงามมาก ดุจเทพเนรมิตไว้กระนั้นแหละ ผู้ใดประสงค์จะซื้อหนังสือธรรมะ (ภาษาอังกฤษ) พระพุทธรูปหิน ภาพโปสเตอร์เกี่ยวกับสถานที่และสิ่งสำคัญ (เล่มละ 20 รูปี) ก็สามารถซื้อได้ที่นี่ คณะนำไปไหว้และกล่าวคำบูชาพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ รอบ ๆ ต้นโพธิ์ลังกา ข้าง ๆ นิวมูลคันธกุฎี ดูชมอักษรจารึกพระธัมมจักกัปวัตตนสูตรของชาติต่าง ๆ รวมทั้งอักษรไทยด้วย ได้เวลาพอสมควร กลับไปวัดไทยสารนาถ ทานอาหารค่ำ พักผ่อนตามอัธยาศัย หรือหากจะซื้อผ้าสาลี่ก็ยินดีที่จะนำแวะซื้อก่อนเข้าที่พัก คณะของเราร่วมสมทบปัจจัยทอดผ้าป่าช่วยกิจสงฆ์ที่นี่ด้วย ซึ่งเป็นวัดที่ 2 ของรายการ


    4) วันศุกร์ ที่ 23 ตุลาคม 2552 (ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 12) (ล่องแม่น้ำคงคา–พาราณสี–ลุมพินีวัน)
    05.00 น. ขึ้นรถไปแม่น้ำคงคา ลงเรือล่องชมวัฒนธรรมประเพณีชาวฮินดู เช่น วิธีการอาบน้ำล้างบาป การเผาศพข้างแม่น้ำ พร้อมการจัดทำฟาก 7 ซี่ หามศพ พิธีเอาศพจุ่มน้ำ หรืออาจจะได้เห็นการเอาศพถ่วงน้ำ ซึ่งมีศพ 5 ชนิดไม่ถูกเผา จะถูกถ่วงน้ำอย่างเดียวคือ

    4.1) เด็ก
    4.2) สาวพรหมจารี
    4.3) สาธุนักบวช
    4.4) ผู้ถูกงูกัด
    4.5) ผู้ถูกฟ้าผ่า ได้เวลาพอสมควรกลับขึ้นฝั่งและขึ้นรถกลับที่พัก ทานอาหารเช้า เตรียมตัวขึ้นรถต่อไปลุมพินีวันประเทศเนปาล

    08.30 น. ออกจากเมืองพาราณสีสู่ ลุมพินีวันประเทศเนปาลอาหารเที่ยงระหว่างทาง
    18.30 น. ถึงลุมพินีวันพักที่วัดไทยลุมพินี
    20.00 น. หลังอาหารเย็นแล้วขึ้นโรงอุโบสถ เพื่อถวายผ้าป่าช่วยเหลือกิจสงฆ์ที่นี้ เป็นวัดที่ 3


    5) วันเสาร์ ที่ 24 ตุลาคม 2552(ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 12) (ลุมพินีวัน – กุสินารา)
    06.00 น. ทานอาหารเช้า
    06.30 น. หลังอาหารเช้าแล้วเดินทางไปนมัสการสถานที่ประสูติ ซึ่งมีสิ่งสำคัญ ดังนี้ คือ
    5.1) มายาเทวีวิหาร ซึ่งเป็นวิหารที่ประดิษฐานพระรูปของพระนางสิริมหามายาประสูติพระกุมาร แต่ขณะนี้ได้รับการขุดและซ่อมแซมเปลี่ยนรูปทรงเป็นอีกแบบหนึ่งแล้ว

    5.2) รูปรอยฝ่าพระบาทของ พระกุมาร ได้รับเล่าว่า หลังจากขุดค้นในวิหารแล้วเจอรอยนี้ จึงสันนิษฐานว่า ณ รอยฝ่าพระบาทจำลองนี้ประดิษฐานนั้นแหละ คือ จุดประสูติที่แท้จริง
    5.3) เสาศิลาจารึกพระเจ้าอโศก
    5.4) สระโบกขรณี สระสรงสนานหลังจากประสูติ สระน้ำกลางสวนลุมพินี และสิ่งอื่น ๆ อีกมากมาย ณ สวนลุมพินีนี้ คณะของเราเวียนเทียน ไหว้พระ สมาธิภาวนา ตามสมควรแก่เวลา เสร็จภารกิจแล้วเดินทางต่อไปกลับสู่อินเดียอีก แวะถวายผ้าป่าที่วัดสุขาราม (960) ซึ่งเป็นวัดที่ 4 และคณะทานอาหารเที่ยงที่นี้ด้วย
    13.30 น. ออกเดินทางต่อไปเมืองกุสินารา
    19.00 น. คณะถึงวัดไทยกุสินาราฯ เข้าที่พัก และทานอาหารเย็น
    21.00 น. เข้าโรงพระอุโบสถเพื่อถวายผ้าป่าช่วยเหลือกิจสงฆ์ที่นี้ ซึ่งเป็นวัดที่ 5 ในการถวายผ้าป่ารอบนี้เสร็จแล้วจะพักผ่อนหรือจะเก็บบุญโดยการเวียนประทักษิณรอบองค์พระเจดีย์ที่นี้ สัก 33 รอบ ก็จะเพิ่มบุญอีกมหาศาลที่เดียว


    6) วันอาทิตย์ ที่ 25 ตุลาคม 2552 (ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 12) (กุสินารา – เวสาลี)
    06.00 น. ทานอาหารเช้า
    06.30 น. เดินทางไป สาลวโนทยาน แห่งมัลลกษัตริย์ เพื่อนมัสการพระปรินิพพานเจดีย์ พระพุทธรูปปางปรินิพพาน เป็นต้น( ณ ที่นี่คณะของเราจะถวายผ้าห่มพระพุทธรูปปางปรินิพพานด้วย) นำกล่าวคำบูชาไหว้พระอธิษฐานจิตภาวนาและทำประทักษิณ สมควรแก่เวลาให้ถ่ายรูปกัน


    ตามอัธยาศัย และเดินทางต่อไปวัดกุสาวดี เพื่อถวายผ้าป่าช่วยเหลือกิจสงฆ์ที่นี่ อันนับเป็นวัดที่ 6
    11.00 น. กลับมาทานอาหารเที่ยงที่วัดไทยกุสินารา
    12.30 น. เดินทางต่อไปเพื่อนมัสการ มกุฏพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระศพของพระพุทธองค์ แม้ที่นี้คณะของเรากล่าวคำบูชา ไหว้พระ อธิษฐานจิต และทำประทักษิณรอบพระเจดีย์ด้วย
    13.30 น. เดินทางต่อไปเมืองเวสาลี ระหว่างทางแวะชมเจตยานุสรณ์สถานบ้านนายจุนทะ ผู้ถวายอาหารมื้อสุดท้ายก่อนเข้าสู่ปรินิพพาน
    19.00 น. ถึงวัดไทยเวสาลี ทานอาหารเย็น
    20.00 น. ถวายผ้าป่าที่นี่อีกหนึ่งวัด อันเป็นวัดที่ 7 อธิษฐานบุญแล้วพักผ่อนตามอัธยาศัย


    7) วันจันทร์ ที่ 26 ตุลาคม 2552 (ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12) (เวสาลี-นาลันทา)
    06.00 น. ทานอาหารเช้า
    07.00 น. เดินทางไปนมัสการพระบรมสารีริกธาตุเจดีย์ที่วาลุการาม กล่าวคำบูชาและประทักษิณเรียบร้อยแล้วเดินทางไปนมัสการพระเจดีย์อีกองค์หนึ่งที่ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ซึ่งกล่าวกันว่า เป็นเจดีย์ที่พระเจ้าอโศกได้รวบรวมพระบรมธาตุทั้งหมดที่รวบรวมได้มาประดิษฐานบรรจุไว้ที่เจดีย์นี้ นอกจากนั้นที่นี้ยังมีเสาพระเจ้าอโศกที่สมบูรณ์ที่สุดด้วย
    11.00 น. กลับมาทานอาหารเที่ยงที่วัดไทยเวสาลี
    12.30 น. เดินทางต่อไปเมืองนาลันทา เข้านมัสการพระพุทธเจ้าองค์ดำ ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์มากองค์หนึ่งที่แต่ละท่านปรารถนาอันใดมักจะสัมฤทธิ์ผลตามที่ปรารถนานั้นทุกประการ จบจากนั้นแล้วเข้าชมมหาวิทยาลัยนาลันทาเก่า แม้คนนอกศาสนาจะเผาทำลายจนเหลือแต่ซากแล้วก็ตาม ก็ยังคงมีร่องรอยแสดงความยิ่งใหญ่และโอฬารให้คณะผู้เยี่ยมเยียนได้ชมอยู่ และเดินทางต่อไปที่วัดไทยนาลันทา และถวายผ้าป่าช่วยเหลือกิจสงฆ์ที่นี้ อันเป็นวัดที่ 8 เสร็จแล้วทานอาหารเย็น และพักผ่อนตาอัธยาศัย


    วันอังคาร ที่ 27 ตุลาคม 2552 (ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 12) (นาลันทา-ราชคฤห์-กัลกัตตา)
    06.00 น. ทานอาหารเช้า
    07.00 น. เดินทางไปขึ้นภูเขาคิชฌกูฏโดยนมัสการและชมสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

    1) ภูเขาคิชฌกูฏ ผู้ขึ้นที่สูงไม่ไหวสามารถใช้เสลี่ยงได้ โดยต้องจ่ายคนละ 800 รูปี ณ ภูเขาคิชฌกูฏนี้มีสิ่งสำคัญอีกมากมาย คือ
    1.1) มัตถกุจฉิ- สถานที่พระมารดาของพระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จมาจะทำแท้ง และเป็นสถานที่พระเทวทัตกลิ้งหินหมายจะปลงพระชนม์พระศาสดา และสะเก็ดหินทำให้พระโลหิตห้อ
    1.2) ถ้ำพระมหาโมคคัลลาน ผู้เลิศทางอิทธิฤทธิ์ เราเข้าไปกราบขอพร
    1.3) ถ้ำสุกรขาตา หรือถ้ำคางหมู เป็นถ้ำที่พระสารีบุตรอยู่อาศัย และพระสารีบุตรบรรลุพระอรหันต์ที่ถ้ำนี้ ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ถ้ำพระสารีบุตร เราเข้าไปกราบขอพร 1.4) ลานหินโค้ง สถานที่พระพุทธองค์ทรงประทับแสดงธรรมแก่พระภิกษุสงฆ์ขณะประทับที่เขาคิชฌกูฏ
    1.5) กุฏิพระอานนท์ ซึ่งเป็นที่อาศัยของพระอานนท์ ตั้งอยู่หน้าพระคันธกุฎีของพระพุทธเจ้า
    1.6) พระคันธกุฎี กุฏิที่พระพุทธองค์ทรงประทับ ซึ่งอยู่บนเงื่อมยอดภูเขาคิชฌกูฏ ณ ยอดคิชฌกูฏเราสามารถมองสิ่งต่างๆอื่นดูได้อีก เช่น สระโบกขรณี ขณะที่ยืน ณ พระคันธกุฎี สามารถมองลงไปข้างล่างเห็นสระน้ำที่เคยสรงสนานและร่องรอยยังมีอยู่ ภูเขาปาณฑวะ ภูเขาอิสิคิลิ ยอดรัตนคีรี (วัดญี่ปุ่นประดิษฐานอยู่)กลับมาทานอาหารเที่ยงที่วัดไทยสิริราชคฤห์ หลังอาหารเที่ยงแล้วแวะชม
    2. โรงพยาบาลหมอชีวก เป็นสถานที่รักษาพยาบาลพระสงฆ์และผู้ป่วยในสมัยพุทธกาล ซึ่งหมอชีวกเป็นผู้สร้าง เป็นผู้จัดการ เป็นหมอรักษาเองด้วย
    3.คุกพระเจ้าพิมพิสาร มีเวลาก็ลงแวะชมสถานที่พระเจ้าอชาตศัตรู ผู้เป็นราชบุตรของพระเจ้าพิมพิสาร ได้จับเสด็จพ่อคือพระเจ้าพิมพิสารขังไว้ในคุก ทรมานจนสิ้นพระชนม์ในคุกนั้น
    4.) ตโปทา บ่อน้ำร้อน ที่ไหลมาจากภูเขาเวภาระ คณะจะได้ดูชม ชนชั้นสูงอาบน้ำ ณ ต้นน้ำ ชนชั้นต่ำอาบน้ำ ณ ชั้นล่างที่น้ำขุ่นคลักแล้วอย่างน่าสมเพช แต่ก็เขาไม่รังเกียจที่จะอาบและใช้สอย
    5.) วัดเวฬุวัน ซึ่งเป็นวัดแห่งแรกของพระพุทธศาสนา ที่พระเจ้าพิมพิสารได้ถวายให้เป็นวัด และเป็นพุทธบูชา สถานที่นี้เป็นต้นกำเนิดวันมาฆบูชา ที่พระอรหันต์ 1,250 รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย และพระพุทธองค์ทรงประทานโอวาทปาติโมกข์ 6.)รอยเกวียนโบราณ จะนำแวะชมรอยเกวียนโบราณ ซึ่งมีรอยปรากฏลึกลงไปในหินอย่างน่าอัศจรรย์
    7.) จะชี้ให้ดูเจตยานุสรณ์ ที่องค์ฤาษีสิทธัตถะพบกับพระเจ้าพิมพิสารเป็นครั้งแรกก่อนตรัสรู้ด้วย ได้เวลาพอสมควรไปทานอาหารเย็นที่วัดไทยสิริราชคฤห์ -อาบน้ำ-เก็บกระเป๋าเรียบร้อย เตรียมเดินทางไปกัลกัตตา
    17.30 น. เดินทางต่อไปที่เมืองกัลกัตตา


    9) วันพุธ ที่ 28 ตุลาคม 2552 (ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 12) (กัลกัตตา – สุวรรณภูมิ)
    05.00 น. ถึงกัลกัตตา แวะวัดเบงกอล เพื่อล้างหน้าล้างตาและทานอาหารเช้า
    08.30 น. เดินทางไปสนามบิน พร้อมเช็คอิน สายการบิน เจ็ตแอร์เวย์เที่ยวบินที่ 9W 066
    11.45 น. เครื่องออก




    **************************
    สิ่งที่ต้องเตรียม
    1. เตรียมเพื่อเป็นผู้เดินทาง (เก็บเมื่อจอง)
    1.1) Passport หรือหนังสือเดินทาง
    1.2) เอกสารสำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด
    1.3) เอกสารสำเนาบัตรประชาชน 1 ชุด
    1.4) ภาพถ่าย 2 นิ้ว เพื่อทำวีซ่า 5 ภาพ (ทั้ง 2 ประเทศ)
    1.5) เงินมัดจำ 10,000 บาท/คน
    2. เตรียมเมื่อยามจะเดินทาง (นำไปเมื่อเดินทาง)
    2.1) ยาประจำตัว และติด พารา ไปบ้าง
    2.2) ผ้าถุงหนึ่งผืน (เฉพาะผู้หญิง) เผื่อต้องเข้าห้องน้ำในสถานที่ไม่มีห้องน้ำ
    2.3) ช่วง พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. และ มี.ค. (ต้น) ต้องเตรียมชุดหนาวไปด้วย)
    2.4) ไฟฉายเล็กๆ สัก 1 กระบอก
    3. ค่าบริการท่านละ 30,000บาท (สามหมื่นบาท)สามารถโอนเงินทั้งค่ามัดจำและส่วนที่เหลือได้ที่ ธนาคารกรุงเทพ สาขา บางกอกน้อย เลขที่ 119-0-481 893 บัญชีชื่อ นายสังคม แชเชือน และ Fax. ใบโอนไปที่หมายเลข 02-991-8271 และหรือโทร.แจ้งให้ ดร.สังคมทราบก็ได้









    ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโดยตรงได้ที่ :
    1. ดร.สังคม แชเชือน โทร. 081-895-2009 จ.นครศรีธรรมราช

      55555
     
  2. Vipawee said:

    Re: ท่องเที่ยว อินเดีย 9 วัน / วันที่ 13 – 21 มีนาคม 2552

    อนุโมทนาสาธุ